วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 4 การใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับงานพรีเซนเตชั่น

 การสร้างงานนำเสนอที่น่าสนใจ อาจจะต้องใส่เอฟเฟ็คต์ หรือลูกเล่นเพิ่มเติมลงไปได้ โดยโปรแกรม PowerPoint จะมีเครื่องมือต่างๆ ให้คุณสร้างเอฟเฟ็คต์ (Effect) ให้กับสไลด์ได้หลายแบบ เพื่อช่วยให้ผู้ฟังไม่เบื่อขณะฟังบรรยาย เช่น เอฟเฟ็คต์เปลี่ยนแผ่นสไลด์, ใส่เสียงประกอบขณะเปลี่ยนสไลด์, ให้แสดงรูปภาพทีละภาพ หรือให้ข้อความวิ่งจากขวามาซ้าย เป็นต้น ซึ่งเอฟเฟ็คต์เหล่านี้จะมีทั้งเสียง (Sound Effect) และการเคลื่อนไหว (Animation Effect) ที่สามารถนำมาใช้ได้กับออบเจ็คต่างๆ ที่มีอยู่ในสไลด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ, รูปภาพ, กราฟ หรือ SmartArt เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในงานนำเสนอ และยังช่วยซ่อนออบเจ็คไว้ก่อนแล้วค่อยๆแสดงตามลำดับที่เราต้องการได้

เครื่องมือสร้างเอฟเฟ็คต์
          โปรแกรม PowerPoint ได้เตรียมเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างเอฟเฟ็คต์ในสไลด์ไว้ในแท็บชื่อ Animation (ภาพเคลื่อนไหว) ซึ่งจะมีกลุ่มคำสั่งที่ใช้กำหนดเอฟเฟ็คต์ให้ออบเจ็คและเอฟเฟ็คต์การเปลี่ยนแผ่นสไลด์ดังภาพ

ใส่เอฟเฟ็คต์ขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์ (Slide Transition)
          ขณะฉายสไลด์สามารถใส่เอฟเฟ็คต์ช่วงที่กำลังเปลี่ยนไปแสดงสไลด์ถัดไปนั้น ซึ่งจะมีเอฟเฟ็คต์ให้เลือกหลายแบบ เช่น ให้สไลด์ค่อยๆจางหายไป เลื่อนจากบนลงล่าง หรือหมุนวน เป็นต้น และเลือกใส่เสียงประกอบขณะเปลี่ยนสไลด์ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

ปรับแต่งการแสดงผลเอฟเฟ็คต์
กำหนดความเร็วของเอฟเฟ็คต์
          คุณสามารถกำหนดความเร็วของการแสดงเอฟเฟ็คต์ได้ ว่าจะให้แสดงช้าหรือเร็ว โดยคลิกที่ปุ่ม Trasition Speed (ความเร็วในการเปลี่ยน) ซึ่งจะมีให้เลือก 3 แบบคือ

  • Slow แสดงแบบช้าๆ
  • Medium ความเร็วปานกลาง
  • Fast แสดงแบบรวดเร็ว


กำหนดเสียงเอฟเฟ็คต์
          นอกจากการแสดงเอฟเฟ็คต์เป็นภาพเคลื่อนไหวแบบเงียบๆแล้ว คุณสามารถเลือกที่จะให้แสดงเสียงประกอบด้วยได้ เพื่อช่วยกระตุ้นความสนใจผู้ชมให้รู้ว่าต่อไปจะเปลี่ยนขึ้นสไลด์แผ่นใหม่แล้ว ซึ่งเลือกเสียงได้ดังภาพ

ตั้งเวลาเปลี่ยนสไลด์
          โดยปกติเมื่อเราเลือกเอฟเฟ็คต์แล้วไม่ได้เลือกอย่างอื่นเพิ่มเติม เมื่อสั่งสไลด์โชว์ โปรแกรม PowerPoint จะตั้งค่าการเปลี่ยนแผ่นสไลด์ให้เป็น On Mouse Click หมายถึงคุณต้องคลิกเมาส์จึงจะขึ้นสไลด์แผ่นถัดไปให้ แต่คุณสามารถตั้งเวลาให้เปลี่ยนแผ่นสไลด์อัตโนมัติได้ ซึ่งจะเหมาะสำหรับการแสดงสไลด์ที่ไม่มีคนควบคุม คือให้ฉายไปเรื่อยๆ ทำได้โดยกำหนดเวลาบนแท็บ Animation ดังนี้

  • On Mouse Click (เมื่อคลิกเมาส์) ให้เปลี่ยนแผ่นสไลด์เมื่อคลิกเมาส์
  • Automatically After (อัตโนมัติหลังจาก) กำหนดเวลา (นาที:วินาที) ที่จะให้ขึ้นสไลด์แผ่นถัดไป



นำไปใช้กับสไลด์ทั้งหมด
          โดยปกติเมื่อเราเลือกเอฟเฟ็คต์ เสียง ความเร็วและตั้งเวลาไปแล้ว การเลือกเหล่านั้นจะมีผลกับสไลด์แผ่นที่เลือกเพียงแผ่นเดียวเท่านั้น หากคุณต้องการนำเอาตัวเลือกทั้งหมดไปใช้กับสไลด์ทุกแผ่นที่มีอยู่ในไฟล์นำเสนอก็คลิกที่ปุ่ม Apply To All (นำไปใช้กับทั้งหมด) บนแท็บ Animation (ภาพเคลื่อนไหว)

ใส่เอฟเฟ็คต์ให้ออบเจ็คในสไลด์
          นอกจากการใส่เอฟเฟ็คต์ขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์แล้ว คุณยังสามารถใส่เอฟเฟ็คต์การเคลื่อนไหวที่เรียกว่า "Animation" ให้กับ "ออบเจ็ค" ต่างๆที่มีอยู่ในสไลด์ เช่นข้อความ, รูปภาพ, รูปวาด, กราฟ, ไดอะแกรม, ตาราง และอื่นๆ โดยขณะฉายสไลด์แทนที่จะแสดงข้อความหรือรูปทั้งหมดออกมาพร้อมกันทีเดียว ก็อาจจะสร้างความน่าสนใจด้วยการสั่งให้แสดงภาพทีละภาพ หรือแสดงข้อความทีละย่อหน้า หรือทีละบรรทัดได้ โดยสามารถเลือกการเคลื่อนไหวที่ต่างกันได้ ซึ่งโปรแกรมจะมีคำสั่งให้คุณใช้กำหนดการเคลื่อนไหวให้ออบเจ็คในสไลด์หลายแบบและหลายกลุ่ม โดยแยกออกเป็นเอฟเฟ็คต์แบบเรียบๆไปจนถึงเอฟเฟ็คต์ที่ดูหวือหวาตื่นตาตื่นใจ ส่วนวิธีการกำหนดการเคลื่อนไหวจะทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

กำหนดการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง (Custom Animation)
          หากคุณต้องการเลือกเอฟเฟ็คต์แบบอื่นๆ หรือการเคลื่อนไหวของแต่ละข้อความเอง ซึ่งออบเจ็คหนึ่งๆ สามารถแสดงการเคลื่อนไหวได้ 3 ช่วงเวลาด้วยกัน คือ ขณะเริ่มแสดงออบเจ็ค, เน้นเมื่อมาถึง และช่วงที่จบการแสดงของออบเจ็คนั้น และในแต่ละช่วงนั้น คุณสามารถจะใส่เอฟเฟ็คต์ได้หลายๆแบบด้วยการเปิดหน้าต่างงาน Custom Animation (ภาพเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง) ขึ้นมาดังรูปถัดไป

ใส่เอฟเฟ็คต์การเคลื่อนไหว


  • เมื่อคลิกที่ปุ่ม Add Effect (เพิ่มลักษณะพิเศษ) จะมีรายชื่อเอฟเฟ็คต์ที่คุณเรียกใช้บ่อยๆ หรือใช้ไปล่าสุด โดยจะแสดง 9 ชื่อสุดท้ายเอาไว้ ซึ่งมาสามารถเรียกใช้งานได้ทันที

ช่วงเวลาแสดงของเอฟเฟ็คต์
          เมื่อคลิกปุ่ม Add Effect เพื่อกำหนดเอฟเฟ็คต์ให้กับออบเจ็คนั้น เราสามารถกำหนดเอฟเฟ็คต์ได้ 3 ช่วงเวลา โดยแต่ละช่วงเวลาจะมีไอคอนแสดงกำกับเพื่อบอกให้ทราบด้วยดังนี้

  • Entrance (เข้า) คือเอฟเฟ็คต์ที่แสดงขณะที่ออบเจ็คกำลังเข้ามาในสไลด์
  • Emphasis (ตัวเน้น) คือให้แสดงเพื่อเน้นออบเจ็ค เมื่อออบเจ็คนั้นแสดงอยู่ในสไลด์แล้ว
  • Exit (นำออก) คือให้แสดงเมื่อจะไม่แสดงออบเจ็คนั้นในสไลด์


เลือกเอฟเฟ็คต์เพิ่มเติม
          นอกจากรายชื่อเอฟเฟ็คต์ที่เห็นในกรอบที่ใช้งานไปล่าสุดแล้ว คุณสามารถเลือกรายการเอฟเฟ็คต์แบบอื่นๆเพิ่มเติมได้ ซึ่งโปรแกรมจะมีให้เลือกใช้งานได้หลายกลุ่ม ดังนี้

ปรับแต่งรายละเอียดเอฟเฟ็คต์
          เอฟเฟ็คต์บางตัวสามารถปรับแต่งค่าเพิ่มเติมได้ เช่น แบบ Fly In ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้ออบเจ็คนั้นเคลื่อนที่มาจากทิศทางใด เช่น จากซ้าย (From Left) หรือจากด้านบน (Form Top) เป็นต้น หรือเอฟเฟ็คต์แบบ Spin ก็มีตัวเลือกว่าจะให้หมุนกี่รอบ เป็นต้น ซึ่งเอฟเฟ็คต์แต่ละแบบจะมีตัวเลือกปรับแต่งในการแสดงผลที่ไม่เหมือนกันดังภาพ

ยกเลิกเอฟเฟ็คต์
          ถ้าไม่ต้องการใช้งานเอฟเฟ็คต์ที่กำหนดไปแล้ว ก็ยกเลิกออกไปได้โดยคลิกเลือกเลขลำดับของเอฟเฟ็คต์ที่จะยกเลิก หรือคลิกเลือกบนหน้าต่างงาน Custom Animation ได้ดังนี้

ให้เอฟเฟ็คต์เริ่มทำงาน
          โดยปกติเมื่อเรากำหนดเอฟเฟ็คต์ให้กับออบเจ็คแล้ว ตัวเลือกการแสดงออบเจ็คในช่อง Start (เริ่ม) จะเป็น On Click คือเมื่อคลิกเมาส์ แต่ยังมีตัวเลือกการเริ่มทำงานแบบอื่นให้เลือกได้อีกดังนี้

  • On Click (เมื่อคลิก) เมื่อคลิกเมาส์จึงจะแสดงออบเจ็คนี้
  • With previous (กับก่อนหน้านี้) ให้แสดงออบเจ็คนี้พร้อมกับออบเจ็คก่อนหน้า (อัตโนมัติ)
  • After Previous (หลังก่อนหน้านี้) ให้แสดงออบเจ็คนี้หลังจากออบเจ็คก่อนหน้าแสดงเสร็จแล้ว (อัตโนมัติ)


จัดลำดับของเอฟเฟ็คต์
          เป็นการจัดลำดับของเอฟเฟ็คต์ใหม่ เพื่อให้การแสดงผลเป็นไปตามลำดับที่เราต้องการได้ ว่าจะให้ออบเจ็คไหนมาก่อนมาหลัง โดยการเลื่อนเอฟเฟ็คต์ขึ้น-ลง ได้ดังภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น