วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 3 วางโครงร่างและจัดการกับสไลด์


จัดรูปแบบสไลด์
          การสร้างงานนำเสนอให้ดูเป็นมืออาชีพ สวยงามและน่าสนใจนั้น เราอาจมีการออกแบบหรือตกแต่งองค์ประกอบของสไลด์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสีพื้นหลังสไลด์ ชุดรูปแบบข้อความ ซึ่งรูปแบบการจัดวางให้เหมาะสมอาจจะทำก่อนที่จะลงมือใส่เนื้อหา หรือหลังจากที่ใส่เนื้อหาลงไปแล้วก็ได้เช่นกัน โปรแกรม PowerPoint จะมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับจัดรูปแบบได้อย่างสวยงามและรวดเร็ว
จัดรูปแบบสไลด์ด้วย Theme
          Themes (ธีม) คือรูปแบบของสไลด์ที่ออกแบบไว้เรียบร้อยแล้ว ทั้งกราฟิก สีพื้น ข้อความ โดยจะไปในทิศทางเดียวกันหรือกลมกลืนกันทั้งสไลด์ การจัดรูปแบบโดยใช้ Theme จะช่วยให้การสร้างงานนำเสนอทำได้ง่ายขึ้น หรือเราจะได้ไม่เสียเวลาในการจัดรูปแบบสไลด์ทีละหน้า เพราะการเลือกรูปแบบของธีมจะเลือกใช้กับสไลด์ทุกๆหน้าที่มีอยู่ในงานนำเสนอ หรือบางหน้าก็ได้

การเลือกชุด Theme (ชุดรูปแบบ)
          PowerPoint จะมีชุดของ Theme เก็บไว้เป็นแกลลอรีให้เรียกใช้เพิ่มเติมได้ โดยเรียกใช้ได้ดังนี้


สำหรับคำสั่งอื่นๆ ในแกลลอรีของ Theme มีดังนี้
More Themes on Microsoft Office Online (ชุดรูปแบบเพิ่มเติมบน Microsoft Office Online) เป็นการเลือกรูปแบบของธีมเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ออนไลน์ของไมโครซอฟท์ออฟฟิศ
Browse for Themes (เรียกชุดรูปแบบ) เป็นการเลือกรูปแบบธีมที่มีเก็บอยู่แล้วภายในเครื่อง
Save Current Theme (บันทึกชุดรูปแบบปัจจุบัน) เป็นการบันทึกไฟล์ธีมที่กำลังใช้อยู่ขณะนั้นและอาจมีการตกแต่งรายละเอียดเพิ่มเติม โดยเก็บเอาไว้เพื่อนำมาใช้งานภายหลังได้

เปลี่ยนสีชุด Theme ด้วย Theme Color
          Theme Color (สีของชุดรูปแบบ) คือชุดโครงร่างสีขององค์ประกอบต่างๆ ก็จะเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้กับชุด Theme ที่เราเรียกใช้ หากสีชุดที่โปรแกรมกำหนดมาให้ไม่เป็นไปอย่างที่คุณต้องการ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงสีชุดของธีมใน PowerPoint โดยเลือกโครงร่างสีใหม่ได้ดังนี้


ชุดสีของ Theme Color นั้นจะมีผลกับออบเจ็คต่างๆทันที เช่น รูปวาด, กราฟ, ตาราง, ไดอะแกรม(SmartArt), ข้อความบน Title และสีพื้นหลังสไลด์ (Background) และอื่นๆ

เปลี่ยนรูปแบบฟอนต์ Theme ด้วย Theme Font
          Theme Font (แบบอักษรของชุดรูปแบบ) คือชุดรูปแบบข้อความที่ใช้แสดงผลในองค์ประกอบต่างๆ ภายในสไลด์ ทั้งข้อความหัวเรื่อง, ข้อความย่อย และข้อความทั่วไป ที่สร้างเป็นชุดๆ เอาไว้แล้ว คุณสามารถเปลี่ยนรูปแบบฟอนต์ของชุด Theme ได้เช่นเดียวกัน โดยเลือกรูปแบบฟอนต์ที่มีอยู่ ดังนี้


เปลี่ยนรูปแบบเอฟเฟ็คต์ Theme ด้วย Theme Effects
          Theme Effect (ลักษณะพิเศษของชุดรูปแบบ) เป็นกลุ่มลักษณะของลวดลายเส้นและการใส่เอฟเฟ็คต์ต่างๆ ทั้งชุดให้กับไฟล์พรีเซนเทชัน โดยจะมีผลกับออบเจ็คต่างๆบนสไลด์ เช่น รูปวาด, เส้น, กราฟ, ตาราง และไดอะแกรม ให้มีสีสันที่สวยงาม มีมิติ เช่น ให้ไล่เฉดสี ทำให้นูนขึ้น ทำให้ยุบลง หรือเรืองแสงที่ขอบภาพ เป็นต้น เลือกได้ดังนี้


เลือกสีพื้นหลังสไลด์ (Background Style)
สีพื้นหลังของสไล์โดยปกติก็จะแสดงตามชุดรูปแบบของ Theme ที่เลือกใช้ แต่คุณสามารถกำหนดลักษณะของสีพื้นหลังใหม่เองได้ ดังนี้


บทที่ 2 รู้จักกับโปรแกรม PowerPoint


บทเรียนที่ 1 รู้จักกับ PowerPoint
          โปรแกรม Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดทำสไลด์เพื่อนำไปเสนอหรือฉายให้บุคคลทั่วไปได้ดู ในปัจจุบันโปรแกรม PowerPoint ได้เข้ามามีบทบาทกับการนำเสนอเป็นอย่างมากไม่ว่าจะใช้นำเสนองาน การประชุม สัมมนา ตลอดจนถึงแวดวงการศึกษาก็นำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น อาจารย์ใช้เป็นสื่อช่วยสอน นักศึกษาใช้สำหรับนำเสนองานกับอาจารย์ เป็นต้น
         จุดเด่นของโปรแกรม PowerPoint ก็คือสามารถสร้างงานที่จะนำเสนอได้อย่างง่ายดาย สามารถใส่ภาพ เสียง ตลอดจนภาพเคลื่อนไหวในลักษณะวิดีโอลงในสไลด์ จึงเป็นสื่อที่นำเสนอข้อมูลได้แบบมัลติมีเดีย ทำให้งานนำเสนอด้วย โปรแกรม Microsoft PowerPoint ของคุณน่าชม น่าฟัง และมีความน่าสนใจมากขึ้น



ส่วนประกอบของโปรแกรม PowerPoint
          พื้นที่การทำงานหลักของ PowerPoint จะมีองค์ประกอบต่างๆ เช่น พื้นที่การสร้างสไลด์ เครื่องมือสร้าง/แก้ไข และส่วนประกอบอื่นๆ ดังนี้
  • ปุ่ม Microsoft Office Button : ใช้สำหรับเรียกเมนูการใช้งานพื้นฐานของโปรแกรม
  • แถบ Quick Access Toolbar : แถบคำสั่งด่วน เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ เอาไว้
  • แถบ Title bar : แสดงชื่อโปรแกรม และชื่อไฟล์งานนำเสนอที่ทำงานอยู่
  • แท็บ Contextual tabs : แท็บคำสั่งพิเศษที่จะแสดงเมื่อมีการใช้คำสั่งบางอย่าง เช่น แทรกภาพ หรือตาราง เป็นต้น
  • แถบ Ribbon : แสดงแท็บคำสั่งที่แบ่งเป็นกลุ่มๆ เช่น Home, Insert ฯลฯ
  • แถบ Status bar : แถบแสดงสถานะการทำงานต่างๆ เช่น จำนวนสไลด์, ชื่อเทมเพลต, ภาษาของแป้นพิมพ์, ปุ่มเปลี่ยนมุมมองสไลด์ และเปอร์เซ็นต์การปรับย่อ-ขยายมุมมอง เป็นต้น





บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมสื่อประสม

สื่อประสม (Multimedia) หมายถึง การนำเอาสื่อการสอนหลายอย่างมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไปมาสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ในเวลาเดียวกัน และมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันของเนื้อหา สื่อประสม (Multimedia) หมายรวมถึง การรวมสื่อต่าง ๆ ซึ่งสามารถหรือแสดงในรูปของตัวอักษร เสียง รูปและภาพเคลื่อนไหวเข้าด้วยกันเป็นสื่อเดียว สื่อประสมได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้คือ
  • สื่อประสมแบบบรรจุแพกเกจ เช่น ซีดี-รอม และเกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • สื่อประสมชนิดเครือข่าย เช่น ระบบปฏิบัติงานกลุ่ม (groupware) เคเบิลทีวี หรือ ทางด่วนข้อมูล เป็นต้น
  • สื่อประสมแบบมหรสพ เช่น เกมส์สื่อประสมในสวนสนุก เป็นต้น
ในอนาคตจะมีการนำสื่อประสมมาใช้หลายด้าน เช่น ทางด้านการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ และนำภาพโสตทัศนต่าง มาสู่ห้องเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความเพลิดเพลิน และสร้างแรงจูงใจต่อการเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล หรือมีการลงคู่มือการใช้และการซ่อมแซม ลงบนอินเตอร์เน็ต หรือซีดี-รอม ส่วนหนึ่งที่ต้องมีการพัฒนาก็คือ โทรทัศน์ปฏิสัมพันธ์ ซึ่งมีมากกว่า 500 ช่อง ซึ่งควบคุมโดยชิปของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในโทรศัพท์ ซึ่งจะมีท่อลำเลียงไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ของผู้ใช้ที่แสดงเป็นวิดีทัศน์ ผู้ใช้สามารถกดปุ่มดูการแสดงเฉพาะบางช่วงหรือเน้นเฉพาะจุด และสามารถปฏิสัมพันธ์กับ story line และสามารถตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรายการแสดงตอนจบได้
การเลือกสื่อประสม สื่อที่เรานำมาใช้ในชุดสื่อการสอนแบบสื่อประสมมักตะประกอบด้วย เอกสารการสอน แผนภูมิ หุ่นจำลอง ชุดแผ่นโปร่งใส สไลด์และ เทปเสียง ฟิล์มสตริป บทเรียนสำเร็จรูป ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ ชุดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งสื่อประสมแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ ตามพัฒนาการเรียนรู้ของกลุ่ม หรืของแต่ละบุคคล ที่แน่นอนคือสื่อประสมหลายอย่าง ย่อมช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิ์ภาพมากกว่าสื่อประเภทเดียว