วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

WEB

http://powerpointbook.blogspot.com/

บทที่ 12

บทที่ 11

บทที่ 10

บทที่ 9

บทที่ 8

บทที่ 7

บทที่ 6

บทที่ 5 รู้จักกับโปรแกรม Flash

เดิมทีนั้น flash เป็นโปรแกรมเล็กๆตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ สำหรับทำอนิเมชั่น สำหรับบนเว็บไซต์เท่าันั้น ยังไ่ม่มีการเขียนโปรแกรมใดๆ ดังสิ้น โดยโปรแกรมที่ว่านั้นชื่อว่า FutureSplash Animator ลักษณะของโปรแกรมเน้นไปที่เส้นชนิด เว็คเตอร์ (Vector) ซึ่งจะต่างกับภาพประเภท pixel ก็คือ  ภาพพิกเซลนั้น เมื่อขยายจะทำให้ภาพแตกได้ แต่สำหรับกราฟฟิคประเภทเวคเตอร์นั้นจะไม่ เนื่องจากว่า เส้นต่างๆ เกิดจากการคำนวณเป็นหลัก  หลังจากนั้นเมื่อ ค่ายยักษ์ใหญ่ ณ ขณะนั้นอย่าง Macromedia เริ่มเล็งเห็นความสำคัญ จึงได้ทำการติดต่อกันไป และได้ปล่อยออกมาด้วยชื่อใหม่ที่ใช้จนปัจจุบันในนาม flash  (สมัยก่อนนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมใช้โปรแกรม director โดยมี player ชื่อว่า shockwave player และภาษาที่ใช้เขียนคือภาษา lingo ซึ่งปัจจุบันเริ่มได้รับความนิยมน้อยลง เนื่องจาก flash สามารถทำอะไรได้มากขึ้น)

เราลองมาดูประวัติ แบ่งตามช่วงเวลาของแต่ละเวอร์ชั่นกันครับ
 
FutureSplash Animator (10 เมษายน 1996): เวอร์ชั่นเริ่มต้นของ flash ซึ่งประกอบด้วยเครื่องพื้นแก้ไขพื้นฐาน และ ไทม์ไลน์ (timeline)



Macromedia Flash 1 (พฤษจิกายน 1996): แมคโครมีเดียเปลี่ยนแบรนด์ใหม่สำหรับ FutrueSplash Animator เป็น Macromedia Flash 1

Macromedia Flash 2 (มิถุนายน 1997): ปล่อย Flash Player 2 และเฟียเจอร์ใหม่ คือ object library


Macromedia Flash 3 (พฤษภาคม 31, 1998): ปล่อย Flash Player 3 โดยเฟียเจอร์ใหม่ได้แก่ มูฟวี่คลิป, ใช้งานร่วมกับ จาวาสคริปต์ ปลั๊กอิน, การทำวัตถุโปร่งใส (transparency) และตัว stand alone player (ตัวที่ใช้เล่น flash เวลาเราเปิดไฟล์ swf)

Macromedia Flash 4
 (มิถุนายน 15, 1999): ปล่อย Flash Player 4 โดยเฟียเจอร์ใหม่ได้แก่ เรื่องของตัวแปร, อินพุตฟิลด์, ActionScript และ การสตรีมมิ่งไฟล์ MP3  (ถือเป็นเวอร์ชั่นแรกๆที่คนเริ่มเขียนเกมและงานอินเตอร์แอคทีพต่างๆ จาก flash เวอร์ชั่นนี้ แต่รูปแบบการเขียนโปรแกรมยังไม่ถือว่าสมบูรณ์สักเท่าไรนัก อาทิเช่นการทำลูป บางครั้งก็ต้องใช้การเล่นเฟรมวน)


Macromedia Flash 5 (August 24, 2000): ปล่อย Flash Player 5 โดยเฟียเจอร์ใหม่ได้แก่ ActionScript 1.0 (ยึดพื้นฐานของ ECMAScript โดยมีลักษณะของภาษาคล้างคลึงกับ จาวาสคริปต์), ซัพพอรต์ XML, การสร้าง Smartclips (เวอร์ชั่นหลังคือ คอมโพเนนต์ (components)), รูปแบบ text ชนิด HTML และ ไดนามิกซ์เทกซ์ (dynamic text, เป็นฟิลด์ที่สามารถควบคุมได้ด้วย ActionScript)

Macromedia Flash MX (เวอร์ชั่น 6, 15 มีนาคม, 2002): ปล่อย Flash Player 6, โดยเฟียเจอร์ใหม่ได้แก่การรองรับ video codec (ชื่อ Sorenson Spark), คำสั่งวาดรูปเวคเตอร์ด้วย ActionScript (ActionScript vector drawing API)


Macromedia Flash MX 2004 (เวอร์ชั่น 7, 9 กันยายน, 2003): ปล่อย flash player 7, โดยเฟียเจอร์ใหม่ได้แก่ ActionScript 2.0 ซึ่งได้ทำการออกแบบสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (object oriented programming), behaviors, JSAPI, รองรับตัวอักษรชนิด alias, การสร้างอนิเมชั่นด้วย timeline effects, การจัดการเนื้อหาในรูปแบบของ slide พรีเซนต์ เช่นเดียวกับ PowerPoint, คอมโพเนนต์สำหรับเล่นไฟล์มีเดีย ต่างๆ (รองรับ MP3 และไฟล์วิดีโอแฟลชนามสกุล FLV), คอมโพเนนต์จัดการข้มูล เช่น DataSet, XMLConnector, Web, ServicesConnector, XupdateResolver, อื่นๆ) Api สำหรับการเชื่อมโยงข้อมูล, พาเนล โปรเจกต์ (สำหรับแบ่งไฟล์ต่างๆเป็นหมวดหมู่) components เวอร์ชั่น 2 และ คลาสสำหรับการเคลื่อนที่ (Transition class libraries)
ป.ล. เนื่องจากเวอร์ชั่นนี้ ออกมาหลังจากเวอร์ชั่น MX ไม่นานมากนัก และค่อนข้างอืดในการทำงานพอสมควร หลายๆคนจึงนิยมใช้ MX แล้วข้ามไปใช้เวอร์ชั่น 8 ทีเดียวก็มี


Macromedia Flash 8 (13 กันยายน, 2005): Macromedia Flash Basic 8, มีเฟียเจอร์ใหม่คือ เครื่องมือ flash ที่เน้นไปสำหรับกลุ่มคนใช้งานใหม่ ที่ต้องการทำแค่การวารูปพื้นฐานง่ายๆ หรืออนิเมชั่นและการอินเตอร์แอพทีพแบบง่ายๆ, ปล่อย Flash Player 8, โดยเวอร์ชั่นนี้มีข้อจำกัดในการซัพพอรต์ไฟล์วิดีโอ และกราฟฟิคระดับสูงและ อนิเมชั่น เอฟเฟคต่างๆ , สำหรับอีกเวอร์ชั่นคือ Macromedia Flash 8 Professional นั้น ได้เพิ่มเฟียเจอร์ที่ดีกว่า ในเรื่องของคุณภาพ วิดีโอ และการสร้างงานสำหรับมือถือ โดยเฟียเจอร์ใหม่ได้แก่ การตกแต่งภาพด้วยฟิลเตอร์ (Filters) และ เบรนด์โหมด (blend modes) , การควบคุมความเร่งของการเคลื่อนที่แบบต่างๆสำหรับอนิเมชั่น (easing control), คุณสมบัติประเภท stroke (caps and joins) , โหมดการวาดแบบเชิงวัตถุ, การเก็บแคชภาพในรูปแบบของบิตแมพ (เพื่อความเร็วในการประมวลผล), ตัวอักษรในรูปแบบ anti-aliasing, วิดีโอ codec ใหม่ชื่อ On2 VP6, รองรับรูปแบบ วิดีโอที่พื้นหลังโปร่งใส (ถ่ายจากกรีนสกรีน หรือบรูสกรีน แล้วนำมาใส่เอฟเฟกต์พื้นหลัง), ตัวโปรแกรมแปลงและนำเข้าวิดีโอ ซึ่งแยกเดี่ยวๆมาต่างหาก, รองรับการจัด cue point สำหรับ FLV (เพิ่มจุดแต่ละช่วงวิดีโอที่สามารถควบคุมด้วยสคริปต์ได้), คอมโพเนนต์ระดับสูง สำหรับการควบคุมวิดีโอ และตัวจำลองโปรแกรมบนอุปกรณ์มือถือแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่น

สำหรับเวอร์ชั่นนี้ถือว่าเป็นเวอร์ชั่นที่ค่อนข้างสมบูรณ์และใช้งานกันยาวนานพ อสมควร และถือว่าเป็นเวอร์ชั่นสุดท้ายสำหรับ Macromedia ก่อนที่จะถูกคู่แข่งที่แข่งกันมานานอย่าง adobe เทคโอเวอร์บริษัทไป ซึ่งก็ขัดใจหลายๆคนที่ไม่ค่อยชอบ adobe สักเท่าไรนัก แต่ถ้าในแง่ของผู้ใช้งาน ก็ถือว่ามีหลายๆเรื่องดีขึ้นทีเดียว อย่างเช่นการอิมพอรต์งานข้ามโปรแกรมกันได้ โดยเวอร์ชั่นนั้นคือ

Adobe Flash CS3 Professional (เวอร์ชั่น  9, 16 เมษายน, 2007): Flash CS3 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชั่นที่อยู่ภายใต้ชื่อของ adobe. เฟียเจอร์ของ CS3 นั้นได้แก่การรองรับภาษา ActionScript 3.0 ที่หลายๆคนหลงรัก และหลายคนเบือนหน้าหนี เนื่องจากมีการเขียนที่เปลี่ยนแปลงไปเยอะจากเดิมมากทีเดียว , การแปลงแอพพริเคชั่นทั้งชิ้นไปเป็นรูปแบบ ActionScript, การใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นของ Adobe ได้ดีขึ้นอย่างเช่น Adobe Photoshop และ มีการวาดแบบเวคเตอร์ที่ดีขึ้น, มีหลายๆส่วนใกล้เคียงกับ Adobe Illustrator และ Adobe Fireworks มากขึ้น 

หมายเหตุ ถ้าพัฒนางานด้วย flash cs3  หากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่แนะนำใ้ห้เซฟกลับไปเป็นเวอร์ชั่น 8 เนื่องจากความเร็วในการรันสคริปต์อาจไม่เท่ากัน และอาจทำให้เกิดผลกระทบกับโปรแกรมที่เขียนได้


Adobe Flash CS4 Professional (เวอร์ชั่น  10, 15 ตุลาคม, 2008): เพิ่มการใส่กระดูกให้วัตถุได้, ควบคุมวัตถุด้วย 3D แบบพื้นฐานได้, อนิเมชั่นเชิงวัตถุ, เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการตัวอักษรมากขึ้น, พัฒนาส่วนเพิ่มเติมสำหรับ ActionScript 3.0  โดย CS4 นั้นช่วยให้นักพัฒนาทั้งหลายสามารถสร้างอนิเมชั่นอย่างมีประสิทธิภาพและรวด เร็ว ด้วยเฟียเจอร์ต่างๆที่ไม่มีในเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้

สำหรับ ปัจจุบันนี้ (2009) ถือว่า flash ได้พัฒนามากพอสมควร โดยภาษา ActionScript 3.0 นั้น Adobe ได้ตั้งใจไว้ให้เป็นภาษาหลัก และไ้ด้แข่งกับ Microsoft ที่จะยึดภาษาของตัวเองเป็นมาตรฐานสำหรับ ECMAScript เวอร์ชั่นถัดไปกันทีเดียว แต่ดูเหมือนว่า Microsoft จะชนะไปในการแข่งขันครั้งนี้ แต่ทาง Adobe ก็ได้ประกาศว่า ทางตัวเองก็จะยึดมั่นแนวทางของตัวเอง โดยปรับภาษาของตัวเองให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร ฉะนั้นจึงไม่ต้องกังวลไป   (ทาง Microsoft มี software ที่ออกมาแข่งกับ flash นามว่า Silver light)

นอกจากนี้ไฟล์แฟลช นั้นไม่ถูกเพียงสร้างขึ้นด้วยโปรแกรม flash อีกต่อไป มีอีกหลายโปรแกรมที่สามารถพัฒนาได้เช่นกัน อาทิ flex เป็นต้น ที่ไม่เน้นการสร้างอนิเมชั่นด้วยไทม์ไลน์แบบ flash สักเท่าไรนัก เน้นเขียนโปรแกรมควบคุมเป็นหลักด้วย ActionScript 3.0 โดยปัจจุบันก็ออกมาเป็นเวอร์ชั่นใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น Flash Builder 4 แทน

แต่ถึงแม้ว่าจะมี ActionScript 3.0 แล้วก็ตาม แต่ ActionScript 2.0 ก็ยังไ่ม่ได้ตายซะทีเดียวเนื่องจากว่ามีรูปแบบการใช้งานที่ง่ายและสะดวกและ ทำความเข้าใจสำหรับ designer ต่างๆได้ไม่ยากในการเขียนโปรแกรมพื้นฐานควมคุมอนิเมชั่นง่ายๆ ฉะนั้นการจะเลือกใช้ภาษาไหนขึ้นอยู่กับสโคปเนื้อหาของงาน และความสะดวกของตัวผู้ใช้เป็นหลัก

สำหรับหัวข้อถัดไป เราจะเริ่มสร้าง flash และเริ่มใช้งานโปรแกรมง่ายๆกันครับ

เกล็ดความรู้เพิ่มเติม
- flash บนมือถือนั้น จะเรียกว่า flash lite โดยมือถือจะเล่นได้ต้องมี flash lite player ซึ่งบางรุ่นก็ต้องดาวน์โหลดเอง บางรุ่นก็แถมมาให้เลยนอกจากนี้ ต้องดูด้วยว่า player นั้นเป็นเวอร์ชั่นอะไร เนื่องจากถ้าเป็น flash lite 1.0 จะต้องเขียน ActionScript รูปแบบเดียวกับ flash 4 นั่นเอง ส่วน flash lite เวอร์ชั่นหลังๆ ก็จะสามารถทำงานได้เหมือน flash player บน pc โดยคำสั่งนั้นอาจจะน้อยกว่าในเวอร์ชั่น pc เท่าที่ระบบมือถือจะรองรับได้ นอกจากนี้ การพัฒนางานบนมือถือต้องใส่ใจเรื่องเมมโมรี่ที่มีอยู่อย่างจำกัดอีกด้วย
- ActionScript เรียกย่อๆว่า AS หรือ as 
- Flash เขียนเป็นภาษาไทยว่า แฟลช ไม่ใช่ แฟรช

บทที่ 4 การใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับงานพรีเซนเตชั่น

 การสร้างงานนำเสนอที่น่าสนใจ อาจจะต้องใส่เอฟเฟ็คต์ หรือลูกเล่นเพิ่มเติมลงไปได้ โดยโปรแกรม PowerPoint จะมีเครื่องมือต่างๆ ให้คุณสร้างเอฟเฟ็คต์ (Effect) ให้กับสไลด์ได้หลายแบบ เพื่อช่วยให้ผู้ฟังไม่เบื่อขณะฟังบรรยาย เช่น เอฟเฟ็คต์เปลี่ยนแผ่นสไลด์, ใส่เสียงประกอบขณะเปลี่ยนสไลด์, ให้แสดงรูปภาพทีละภาพ หรือให้ข้อความวิ่งจากขวามาซ้าย เป็นต้น ซึ่งเอฟเฟ็คต์เหล่านี้จะมีทั้งเสียง (Sound Effect) และการเคลื่อนไหว (Animation Effect) ที่สามารถนำมาใช้ได้กับออบเจ็คต่างๆ ที่มีอยู่ในสไลด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ, รูปภาพ, กราฟ หรือ SmartArt เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในงานนำเสนอ และยังช่วยซ่อนออบเจ็คไว้ก่อนแล้วค่อยๆแสดงตามลำดับที่เราต้องการได้

เครื่องมือสร้างเอฟเฟ็คต์
          โปรแกรม PowerPoint ได้เตรียมเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างเอฟเฟ็คต์ในสไลด์ไว้ในแท็บชื่อ Animation (ภาพเคลื่อนไหว) ซึ่งจะมีกลุ่มคำสั่งที่ใช้กำหนดเอฟเฟ็คต์ให้ออบเจ็คและเอฟเฟ็คต์การเปลี่ยนแผ่นสไลด์ดังภาพ

ใส่เอฟเฟ็คต์ขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์ (Slide Transition)
          ขณะฉายสไลด์สามารถใส่เอฟเฟ็คต์ช่วงที่กำลังเปลี่ยนไปแสดงสไลด์ถัดไปนั้น ซึ่งจะมีเอฟเฟ็คต์ให้เลือกหลายแบบ เช่น ให้สไลด์ค่อยๆจางหายไป เลื่อนจากบนลงล่าง หรือหมุนวน เป็นต้น และเลือกใส่เสียงประกอบขณะเปลี่ยนสไลด์ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

ปรับแต่งการแสดงผลเอฟเฟ็คต์
กำหนดความเร็วของเอฟเฟ็คต์
          คุณสามารถกำหนดความเร็วของการแสดงเอฟเฟ็คต์ได้ ว่าจะให้แสดงช้าหรือเร็ว โดยคลิกที่ปุ่ม Trasition Speed (ความเร็วในการเปลี่ยน) ซึ่งจะมีให้เลือก 3 แบบคือ

  • Slow แสดงแบบช้าๆ
  • Medium ความเร็วปานกลาง
  • Fast แสดงแบบรวดเร็ว


กำหนดเสียงเอฟเฟ็คต์
          นอกจากการแสดงเอฟเฟ็คต์เป็นภาพเคลื่อนไหวแบบเงียบๆแล้ว คุณสามารถเลือกที่จะให้แสดงเสียงประกอบด้วยได้ เพื่อช่วยกระตุ้นความสนใจผู้ชมให้รู้ว่าต่อไปจะเปลี่ยนขึ้นสไลด์แผ่นใหม่แล้ว ซึ่งเลือกเสียงได้ดังภาพ

ตั้งเวลาเปลี่ยนสไลด์
          โดยปกติเมื่อเราเลือกเอฟเฟ็คต์แล้วไม่ได้เลือกอย่างอื่นเพิ่มเติม เมื่อสั่งสไลด์โชว์ โปรแกรม PowerPoint จะตั้งค่าการเปลี่ยนแผ่นสไลด์ให้เป็น On Mouse Click หมายถึงคุณต้องคลิกเมาส์จึงจะขึ้นสไลด์แผ่นถัดไปให้ แต่คุณสามารถตั้งเวลาให้เปลี่ยนแผ่นสไลด์อัตโนมัติได้ ซึ่งจะเหมาะสำหรับการแสดงสไลด์ที่ไม่มีคนควบคุม คือให้ฉายไปเรื่อยๆ ทำได้โดยกำหนดเวลาบนแท็บ Animation ดังนี้

  • On Mouse Click (เมื่อคลิกเมาส์) ให้เปลี่ยนแผ่นสไลด์เมื่อคลิกเมาส์
  • Automatically After (อัตโนมัติหลังจาก) กำหนดเวลา (นาที:วินาที) ที่จะให้ขึ้นสไลด์แผ่นถัดไป



นำไปใช้กับสไลด์ทั้งหมด
          โดยปกติเมื่อเราเลือกเอฟเฟ็คต์ เสียง ความเร็วและตั้งเวลาไปแล้ว การเลือกเหล่านั้นจะมีผลกับสไลด์แผ่นที่เลือกเพียงแผ่นเดียวเท่านั้น หากคุณต้องการนำเอาตัวเลือกทั้งหมดไปใช้กับสไลด์ทุกแผ่นที่มีอยู่ในไฟล์นำเสนอก็คลิกที่ปุ่ม Apply To All (นำไปใช้กับทั้งหมด) บนแท็บ Animation (ภาพเคลื่อนไหว)

ใส่เอฟเฟ็คต์ให้ออบเจ็คในสไลด์
          นอกจากการใส่เอฟเฟ็คต์ขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์แล้ว คุณยังสามารถใส่เอฟเฟ็คต์การเคลื่อนไหวที่เรียกว่า "Animation" ให้กับ "ออบเจ็ค" ต่างๆที่มีอยู่ในสไลด์ เช่นข้อความ, รูปภาพ, รูปวาด, กราฟ, ไดอะแกรม, ตาราง และอื่นๆ โดยขณะฉายสไลด์แทนที่จะแสดงข้อความหรือรูปทั้งหมดออกมาพร้อมกันทีเดียว ก็อาจจะสร้างความน่าสนใจด้วยการสั่งให้แสดงภาพทีละภาพ หรือแสดงข้อความทีละย่อหน้า หรือทีละบรรทัดได้ โดยสามารถเลือกการเคลื่อนไหวที่ต่างกันได้ ซึ่งโปรแกรมจะมีคำสั่งให้คุณใช้กำหนดการเคลื่อนไหวให้ออบเจ็คในสไลด์หลายแบบและหลายกลุ่ม โดยแยกออกเป็นเอฟเฟ็คต์แบบเรียบๆไปจนถึงเอฟเฟ็คต์ที่ดูหวือหวาตื่นตาตื่นใจ ส่วนวิธีการกำหนดการเคลื่อนไหวจะทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

กำหนดการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง (Custom Animation)
          หากคุณต้องการเลือกเอฟเฟ็คต์แบบอื่นๆ หรือการเคลื่อนไหวของแต่ละข้อความเอง ซึ่งออบเจ็คหนึ่งๆ สามารถแสดงการเคลื่อนไหวได้ 3 ช่วงเวลาด้วยกัน คือ ขณะเริ่มแสดงออบเจ็ค, เน้นเมื่อมาถึง และช่วงที่จบการแสดงของออบเจ็คนั้น และในแต่ละช่วงนั้น คุณสามารถจะใส่เอฟเฟ็คต์ได้หลายๆแบบด้วยการเปิดหน้าต่างงาน Custom Animation (ภาพเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง) ขึ้นมาดังรูปถัดไป

ใส่เอฟเฟ็คต์การเคลื่อนไหว


  • เมื่อคลิกที่ปุ่ม Add Effect (เพิ่มลักษณะพิเศษ) จะมีรายชื่อเอฟเฟ็คต์ที่คุณเรียกใช้บ่อยๆ หรือใช้ไปล่าสุด โดยจะแสดง 9 ชื่อสุดท้ายเอาไว้ ซึ่งมาสามารถเรียกใช้งานได้ทันที

ช่วงเวลาแสดงของเอฟเฟ็คต์
          เมื่อคลิกปุ่ม Add Effect เพื่อกำหนดเอฟเฟ็คต์ให้กับออบเจ็คนั้น เราสามารถกำหนดเอฟเฟ็คต์ได้ 3 ช่วงเวลา โดยแต่ละช่วงเวลาจะมีไอคอนแสดงกำกับเพื่อบอกให้ทราบด้วยดังนี้

  • Entrance (เข้า) คือเอฟเฟ็คต์ที่แสดงขณะที่ออบเจ็คกำลังเข้ามาในสไลด์
  • Emphasis (ตัวเน้น) คือให้แสดงเพื่อเน้นออบเจ็ค เมื่อออบเจ็คนั้นแสดงอยู่ในสไลด์แล้ว
  • Exit (นำออก) คือให้แสดงเมื่อจะไม่แสดงออบเจ็คนั้นในสไลด์


เลือกเอฟเฟ็คต์เพิ่มเติม
          นอกจากรายชื่อเอฟเฟ็คต์ที่เห็นในกรอบที่ใช้งานไปล่าสุดแล้ว คุณสามารถเลือกรายการเอฟเฟ็คต์แบบอื่นๆเพิ่มเติมได้ ซึ่งโปรแกรมจะมีให้เลือกใช้งานได้หลายกลุ่ม ดังนี้

ปรับแต่งรายละเอียดเอฟเฟ็คต์
          เอฟเฟ็คต์บางตัวสามารถปรับแต่งค่าเพิ่มเติมได้ เช่น แบบ Fly In ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้ออบเจ็คนั้นเคลื่อนที่มาจากทิศทางใด เช่น จากซ้าย (From Left) หรือจากด้านบน (Form Top) เป็นต้น หรือเอฟเฟ็คต์แบบ Spin ก็มีตัวเลือกว่าจะให้หมุนกี่รอบ เป็นต้น ซึ่งเอฟเฟ็คต์แต่ละแบบจะมีตัวเลือกปรับแต่งในการแสดงผลที่ไม่เหมือนกันดังภาพ

ยกเลิกเอฟเฟ็คต์
          ถ้าไม่ต้องการใช้งานเอฟเฟ็คต์ที่กำหนดไปแล้ว ก็ยกเลิกออกไปได้โดยคลิกเลือกเลขลำดับของเอฟเฟ็คต์ที่จะยกเลิก หรือคลิกเลือกบนหน้าต่างงาน Custom Animation ได้ดังนี้

ให้เอฟเฟ็คต์เริ่มทำงาน
          โดยปกติเมื่อเรากำหนดเอฟเฟ็คต์ให้กับออบเจ็คแล้ว ตัวเลือกการแสดงออบเจ็คในช่อง Start (เริ่ม) จะเป็น On Click คือเมื่อคลิกเมาส์ แต่ยังมีตัวเลือกการเริ่มทำงานแบบอื่นให้เลือกได้อีกดังนี้

  • On Click (เมื่อคลิก) เมื่อคลิกเมาส์จึงจะแสดงออบเจ็คนี้
  • With previous (กับก่อนหน้านี้) ให้แสดงออบเจ็คนี้พร้อมกับออบเจ็คก่อนหน้า (อัตโนมัติ)
  • After Previous (หลังก่อนหน้านี้) ให้แสดงออบเจ็คนี้หลังจากออบเจ็คก่อนหน้าแสดงเสร็จแล้ว (อัตโนมัติ)


จัดลำดับของเอฟเฟ็คต์
          เป็นการจัดลำดับของเอฟเฟ็คต์ใหม่ เพื่อให้การแสดงผลเป็นไปตามลำดับที่เราต้องการได้ ว่าจะให้ออบเจ็คไหนมาก่อนมาหลัง โดยการเลื่อนเอฟเฟ็คต์ขึ้น-ลง ได้ดังภาพ